วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำยาอเนกประสงค์

การทำยาสระผมใช้เอง
แชมพูสระผม - ว่านหางจระเข้ มะกรูด

 


ส่วนผสม
1 หัวแชมพู 8000 2 กก.
2 ผงฟอง 1 ขีด
3 ผงข้น 1 ขีด
4 ลาโนลีน 1 ขีด
5 กลิ่นคาโอ 1 ออนซ์
6 ว่านหางจระเข้ 150 กรัม
7 มะกรูด 150 กรัม
8 สีเขียว ฟ้า 1 ห่อ
9 น้ำกลั่น 2 ลิตร

วิธีทำ
นำผงฟองเทผสมลงในน้ำ 1 ลิตร คนจนเป็นเนื้อเดียวกัน เติมหัวแชมพู คนให้เข้ากัน นำลาโนลีนมาละลายในน้ำร้อนแล้วเทลงในส่วนผสม คนให้เข้ากัน จากนั้นเติม กลิ่น สี ว่านหางจระเข้ มะกรูด คนให้เข้ากัน เสร็จแล้วค่อยๆเติมผงข้นลงไปในส่วนผสมโดยเติมไปคนไปจนข้นพอประมาณ ปล่อยทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืนจึงนำไปบรรจุ
สูตรแชมพูสระผม
ส่วนผสม
แชมพูออย 23.5%(1กิโลกรัม), ผงข้น 2.5%(2-3 ขีด), น้ำ 70.0%(3 กิโลกรัม), น้ำหอมพอประมาณ(ใช้ไม่เกิน 0.5% ออนซ์(ครึ่งออนซ์)), ผงฟอง 4.0% (1ขีด), ลาโลนิน 1/4 ขีด (25 กรัมละลายในน้ำร้อน) และสีตามต้องการ
วิธีทำ
1. นำน้ำแชมพูและผงฟองคนให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วผสมสีตามที่ต้องการ
2. เมื่อขั้นที่ 1 คนเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว จึงเติมผงข้นตามที่กำหนดข้างต้นคนให้เป็นเนื้อเดียวกันก็จะได้ความหนืดหลังจากนั้นจึงเติมน้ำหอมลงไป

สูตรครีมนวดผมของอเมริกา

ส่วนผสม : 1. บาควอท ซีที-429 (3.50%),2. คาโคล 60 (3.20%), 3. กรดมะนาวแอนไฮดรัส (0.01%), 4. น้ำหอม (0.50-1.00%), และ 5. น้ำ 92.79-92.29%
วิธีทำ : เอา 1+2+3+5 ใส่ในภาชนะ แล้วยกไปตั้งในกาละมังที่ตั้งบนเตาเคี่ยวจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกันประมาณ 70-80 องศาเซลเซียส แล้วให้ยกลง รอจนอุณหภมิลดลงเหลือ 40 องศาซี ค่อยเติมน้ำหอม คนให้เข้ากันแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
หมายเหตุ ถ้าต้องการรักษาหรือป้องกันผมแตกปลายให้เติม ACETAMIDE MEA ในอัตรา 3.0-5.0% โดยการลดส่วนของน้ำลงในอัตราเท่ากันกับ ACETAMIDE MEA



ครีมนวดผมสมุนไพร





* ว่านหางจระเข้ เลือกว่านหางจระเข้ที่มีอายุ 1 ปี ขึ้นไปจะให้วุ้นที่ดีที่สุดตัดเอาใบแก่ขนาดใหญ่
ที่อยู่ล่างสุด



* มะกรูด เลือกผลที่สมบูรณ์โดยสังเกตจากลักษณะผลเต่งตึงเปลือกสีเขียวเข้มเป็นมันโชย
กลิ่นหอมบางเบา
* ขมิ้นชัน เลือกเหง้าหรือหัวที่แก่จัดมีสีเข้ม2. การเตรียมสมุนไพร
          สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบ จะต้อง จัดเตรียม ดังนี้
การเตรียมว่านหางจระเข้
          1. นำว่านหางจระเข้ ล้างให้สะอาด ปอกเปลือกออกให้หมด นำไปล้างเอาเมือกออกอีกครั้ง
          2. หั่นว่านหางจระเข้เป็นชิ้น ๆ
          3. เอาว่านหางจระเข้ใส่เครื่องปั่น เติมน้ำปั่นให้ละเอียด
การเตรียมมะกรูด
          1. ล้างมะกรูดให้สะอาด
          2. ฝานมะกรูดบาง ๆ เตรียมไว้การเตรียมดอกอัญชัน ล้างดอกอัญชัน ใส่ภาชนะเตรียมไว้
การเตรียมขมิ้นชัน
           1. ฝานขมิ้นบาง ๆ
           2. ตากแดดให้แห้ง
           3. นำมาบดให้ละเอียดจะได้ขมิ้นผง

การทำแชมพูสระผมสมุนไพร แต่ละครั้งต้องเตรียม ส่วนผสมให้ครบถ้วนตามอัตราส่วนที่เหมาะสม จึงจะได้แชมพูสระผมที่มี
คุณภาพดี มีส่วนผสมดังต่อไปนี้
ส่วนผสมครีมนวดผมสมุนไพร
สมุนไพร
ว่านหางจระเข้                         2   ถ้วยตวง
มะกรูด                                5   ผล
ขมิ้นชันผง                             2   ช้อนโต๊ะ
สารเคมี
Wax AB                           400   กรัม
AC (น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์)            200   กรัม
หัวน้ำหอม (fragrance)            25    ซี ซี
น้ำ                                     4    ลิตร
ขั้นตอนการทำครีมนวดผมสมุนไพร
การทำครีมนวดผมสมุนไพร มีขั้นตอนและวิธีทำ ดังนี้
1. ตวงน้ำสะอาด ลิตรตั้งไฟให้เดือด
2. ใส่ว่านหางจระเข้ที่ปั่นแล้ว
3. ใส่มะกรูดที่ฝานแล้ว
4. ใส่ขมิ้นผง คนให้เข้ากัน ต้มให้เดือด
5. นำส่วนผสมทั้งหมดกรองเอากากทิ้งด้วยที่กรองหยาบ
6. กรองอีกครั้งด้วยที่กรองละเอียด
7. นำขึ้นตั้งไฟ เติมน้ำที่เหลือ 3 ลิตร ให้เดือดอีกครั้ง
8. ใส่ Wax AB คนให้ละลายจนหมด
** ยกลงจากเตา คนเรื่อย ๆ พออุ่น **
9. ใส่ AC คนให้เข้ากัน ครีมจะเริ่มข้นขึ้น มีลักษณะเป็นครีมข้น
10. ใส่หัวน้ำหอม คนให้เข้ากัน
การบรรจุขวด
ตักครีมนวดผมเทใส่กรวยลงสู่ขวด

น้ำยาล้างจาน

ส่วนประกอบ
1. หัวแชมพู (emal 28 ctn ) หรือ N70           1        กก.
2. สารขจัดคราบ (neopelelex f-24)               1.25  กก.
3. สารชำระล้างถนอมมือ (amphitol 55 ab)    100   กรัม
4. หัวน้ำหอม                                                     8       กรัม
5. น้ำสะอาด                                                       5      ลิตร
อุปกรณ์ที่ใช้
1. ถังน้ำขนาด                                                     10     ลิตร
2. ไม้สำหรับกวนน้ำยาให้เข้ากัน
3. ขวดน้ำเปล่าขนาดประมาณ 500 cc จำนวน 15 ขวด สำหรับใส่น้ำยา
วิธีทำ
1. นำหัวแชมพู emal 28 ctn ผสมกับ สารขจัดคราบ (neopelelex f-24) กวนให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยเติมน้ำสอาดทีละน้อยจนครบ 5 ลิตร กวนให้เข้ากัน
2. เติมสารชำระล้างถนอมมือ (amphitol 55 ab) ในส่วนผสมข้อที่ 1 กวนให้เข้ากัน (กวนช้า ๆ เพราะจะเกิดฟองมาก
3. เมื่อกวนเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว นำสารกันเสียและหัวน้ำหอม (น้ำหอมกลิ่นมะนาวหรือกลิ่นอื่นที่ชอบ) เติมลงไปกวนให้เข้ากัน

การเลือกและการเตรียมสมุนไพร
1. การเลือกสมุนไพร
          สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบ จะต้องคัดเลือกสมุนไพร ดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่

                                                                            ไผ่


ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า Poaceae (เดิมคือ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro).

ไผ่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 90 สกุล และ 1,000 ชนิด. ที่รู้จักกันแพร่หลาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในสกุล ต่อไปนี้ Arundinaria, Bambusa, Chimonobambusa, Chusquea, Dendrocalamus, Drepanostachyum, Guadua angustifolia, Hibanobambusa, Indocalamus, Otatea, Phyllostachys, Pleioblastus, Pseudosasa, Sasa, Sasaella, Sasamorpha, Semiarundinaria, Shibataea, Sinarundinaria, Sinobambusa, Thamnocalamus
ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้ไผ่ข้าวหลาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum pergracile )
ไผ่คายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa compressa)
ไผ่โจด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arundinaria cililta)
ไผ่ซาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus strictus)
ไผ่ซางคำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus latiflorus)
ไผ่ซางนวล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus membranaceus)
ไผ่ซางหม่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus sericeus )
ไผ่ตง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus aspe)
ไผ่ตากวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa kurzii)
ไผ่บง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa nutans)
ไผ่บงคาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa hosseusii)
ไผ่บงดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa tulda)
ไผ่บงป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispatha)
ไผ่บงหนาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa burmanica)
ไผ่ป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa bambos)
ไผ่เป๊าะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus giganteus)
ไผ่ผาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa densa)
ไผ่เพ็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vietnamosasa pusilla)
ไผ่รวก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys siamensis)
ไผ่รวกดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys oliveri)
ไผ่ไร่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa albociliata)
ไผ่ลำมะลอก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispiculatar)
ไผ่เลี้ยง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa mulfiplex)
ไผ่หวาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa sp.)
ไผ่สีสุก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana)
ไผ่หก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus hamiltonii)
ไผ่หลอด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neohouzeaua mekongensis)
ไผ่หอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa polymorpha)
ไผ่เหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa vulgaris)
ไผ่เฮียะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum virgatum)
ความหมายอันเป็นสัญญลักษณ์ของต้นไผ่
หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า ประเทศหลังม่านไม้ไผ่เมื่อเปิดเข้าไปข้างหลังม่านไม้ไผ่เราก็ จะพบกับประเทศจีนประเทศที่มีประเพณี วัฒนธรรม ที่คนทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอันมาก ซึ่งครั้งนี้เราจะได้นำเกล็ดเกี่ยวกับต้นไผ่มาฝาก จะเห็นได้ว่าต้นไผ่นี้ชาวจีนนิยมปลูกกันมาก จนฝรั่งกล่าวว่าไผ่เป็นมิตรของชาวจีน ต้นไผ่มีอยู่หลายชนิดบางชนิดลำต้นมีลาย จึงมีนิทานเล่าว่า ลำข้อที่ลายเกิดขึ้นจากน้ำตาของพระมเหสี 2 องค์ของฮ่องเต้ซุน ที่ร่ำไห้เสียใจที่ฮ่องเต้ได้สิ้นพระชนม์ลง และน้ำตามาติดที่ข้อไผ่จนเกิดเป็นลาย บางชนิดบางต้นเป็นสีเขียวเรียบ ส่วนขนาด ของลำต้นนั้นมีความสูงตั้งแต่ 2-3 ฟุต ไปจนถึง 20-30 ฟุต ส่วนมากจะนิยมปลูกทางใต้ของประเทศจีน แต่ต่อมาได้นำมาปลูกทางเหนือด้วย ต้นไผ่นี้ชาวจีนถือว่าเป็นต้นไม้ของนักปราชญ์ ไผ่มีความหมายในทางสัญลักษณ์คือ ตัวลำต้นเป็นข้อแข็งแกร่งคงทนจีนเรียกว่า " เจี๊ย " หมายถึงคนมีข้อ คือคนที่มีหลักการไม่ลู่ตามลม

ข้างในของไผ่จะกลวง ถ้าเปรียบกับคน ก็เปรียบเสมือนคนใจกว้างยอมรับความคิดเห็นและคำแนะนำของผู้อื่น ชอบหาความรู้เพิ่มเติม ส่วนใบเขียวของไผ่มีความแข็งแรงทนได้ทุกสภาวการณ์ไม่ว่าจะร้อนหรือหนาว จึงเป็นเหตุให้เหล่า เสนาธิการหรือกุนซือของกองทัพจีนนิยมมีเข็มกลัดเป็นรูปข้อไผ่ติดบนหน้าอก ซึ่งเป็น สัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง ความมีปัญญา ความจงรักภักดี ความซื่อสัตย์และความกตัญญู ในเมืองไทยที่เห็นปลูกไผ่นั้นส่วนมากนิยมปลูกเพื่อการตกแต่งบ้านให้ร่มเงา หรือนำเอาส่วนต่างๆ ของต้นไผ่มาทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งต่างๆ แต่ถ้าเราจะเอาแบบอย่างของความหมายทาง สัญลักษณ์ของต้นไผ่มาใช้ในชิวิตประจำวัน ก็คิดว่าสังคมไทยคงจะน่าอยู่มากกว่านี้
คุณลักษณะพิเศษของ "ไผ่"1.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา ๑ - ๔ ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่รากไผ่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ หน่อไผ่หรือหน่อไม้ใช้ทำอาหาร กาบหรือใบไผ่ใช้ห่ออาหารหรือหมักปุ๋ย กิ่งและแขนงใช้ทำรั้ว ลำต้นใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่นำมาใช้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและแปรรูปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิดจนถึงนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย
ดังนั้นชาวนาจึงมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและป้องกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น หากปลูกไผ่ไว้ตามริมแม่น้ำลำคลอง จะช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำไม่ให้ดินพัวทะลายง่าย นอกจากนี้ไผ่ยังใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ด้วย
2. ไผ่มีลำต้นตรงและกลวงคล้ายหลอดและมีปล้องข้อคั่นเป็นปล้องๆ จึงใช้เป็นภาชนะประเภทกระบอก ถ้วย สำหรับใส่ของเหลว เช่นใช้เป็นกระบอกน้ำ กระบอกน้ำตาล ซึ่งใช้กันทั่วไปในหลายประเทศ ลักษณะพิเศษของไม้ไผ่นี้สามารถนำมาใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยได้ โดยนำมาทำเป็นโครงสร้างของบ้านเรือน ใช้เป็นพื้นเรือน ฝาเรือน ใช้ทำรางน้ำ ท่อน้ำ และทำเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยได้ดีอีกด้วย
3. เนื้อไผ่เป็นเส้นตรงมีความยืดหยุ่นในตัวเองและสามารถคืนตัวสู่สภาพเดิมได้ เมื่อนำไม้ไผ่มาแปรรูปก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเนื้อไม้ไผ่เป็นเส้นตรง นำมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็นเส้นได้ดี จึงใช้ทำเครื่องจักสานนานาชนิดได้ ทั้งเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรงมั่นคง สำหรับใช้งานหนักจนถึงเครื่องจักสานขนาดเล็กที่มีความประณีตบอบบาง และเพราะคุณสมบัติในที่มีความยืดหยุ่น จึงเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องหาบหรือหาม เช่น คาน คันกระสุน คันธนูและเมื่อแปรรูปเป็นตอกก็ยังมีความยืดหยุ่นคืนรูปทรงเดิมได้ง่ายจึงทำให้ภาชนะจักสานที่ทำจากไผ่มีคุณลักษณะพิเศษต่างไปจากภาชนะที่ทำจากวัตถุดิบชนิดอื่น
4.ไม้ไผ่มีความสวยงามในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวที่มีสีต่างๆ กันเมื่อแห้งแล้วมักจะมีสีเหลืองอยู่เช่นนั้นตลอดไป ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ ชาวเอเชียจึงใช้เหล็กหรือโลหะเผาไฟจนร้อนแล้วเขียนตัวอักษรหรือลวดลายลงบนผิวไม้ไผ่ ( Bamboo Pyrographic ) เช่นจีนจารึกบทกวีบนผิวไม้ไผ่ ชาวญี่ปุ่นใช้เขียนชื่อเจ้าของบ้านแขวนไว้หน้าบ้านและจารึกบทกวีแขวนไว้สองข้างประตูเรือนน้ำชา ( Tea House ) ชาวเกาหลีใช้เขียนเป็นลวดลายบนเครื่องใช้ เช่นเดียวกับที่ชาวบาตัก ( Batak) ในประเทศอินโดนีเซีย ใช้เหล็กเผาไฟ ขูด ขีด เขียน ลงบนกระบอกไม้ไผ่ สำหรับเก็บยาหรือทำเป็นปฏิทิน ในขณะที่ชาวบาหลีใช้จารลงบนผิวไผ่เป็นแผ่นๆ เพื่อใช้เป็นคัมภีร์ในศาสนาตน นอกจากไม้ไผ่จะมีผิวสวยแล้ว เนื้อไผ่ยังมีลักษณะพิเศษต่างจากเนื้อไม้อื่นคือ มีเสี้ยนยาวขนานกันเป็นเส้น จึงแปรรูปเป็นเส้น เป็นปื้น หรือเหลาให้กลมได้ง่าย และเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเป็นเส้นละเอียดแข็ง มอดแมลงไม่กินจนมีผู้กล่าวว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่นั้น ผู้สานสามารถสานให้เป็นรูปทรงแปลกแตกต่างกันได้มากมาย จนเครื่องจักสานบางชิ้นมีรูปทรงและผิวสวยงามดุจงานประติมากรรมสมัยใหม่ทีเดียว
 

ชนิดของไผ่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
อุตสาหกรรมประมงทะเล : ไผ่รวก
อุตสาหกรรมตะเกียบไม้เสียบอาหาร : ไผ่ซางป่า
อุตสาหกรรมจักสาน : ไผ่ซางนวล, ไผ่ซางหม่น, ไผ่ซางหวาน, ไผ่ซางป่า, ไผ่บง
อุตสาหกรรมหน่อไม้กระป๋อง : ไผ่หก
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ : ไผ่ซางบ้าน,ไผ่ซางนวล, ไผ่ซางหม่น, ไผ่บงคาย, ไผ่เลี้ยง,ไผ่ตง, ไผ่หก, ไผ่ตงลืมแล้ง
อุตสาหกรรมไม้ปาเก้ : ไผ่ซางหม่น, ไผ่ซางนวล, ไผ่ซางบ้าน
อุตสาหกรรมกระดาษ : ไผ่ทุกชนิด เช่น ไผ่ตง, ไผ่หก, ไผ่หม่าจู, ไผ่ซาง ฯลฯ
ไผ่เพื่อบริโภค : ไผ่ซางหวาน, ไผ่ซางหม่น, ไผ่ซางนวล, ไผ่เป๊าะ, ไผ่หม่าจู,ไผ่บงหวาน, ไผ่หก, ไผ่บง, ไผ่เลี้ยง, ไผ่ตงลืมแล้ง, ไผ่กิมซุง,ไผ่ตงหวานไต้หวัน












วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอ

มะละกอ   (Papaya)

มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papyya L. ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya. ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ด


มะละกอเป็นพืชท้องถิ่นของ ทวีปอเมริกากลางและใต้ มีหลักฐานว่า...ชาวพื้นเมืองแคริบเบียน ในเขตชายฝั่ง ประเทศปานามา และโคลัมเบีย เป็นชนกลุ่มแรกที่ปลูกมะละกอกิน
ซึ่งชาวพื้นเมืองแคริบเบียนจะเรียกมะละกอเป็นภาษาพื้นเมืองว่า...อาบาบัย [ ababai ]ภายหลังดินแดนแถบนี้ถูกชาวสเปนยึดเป็นอาณานิคมได้ในปี ค.ศ.1526ชาวสเปนได้เรียกชื่อ อาบาบัย เพี้ยนเป็น ปาปาย่า [ papaya ] และเป็นที่มาของชื่อปาปาย่า หรือ มะละกอ ในภาษาอังกฤษทุกวันนี้
และจากนั้นมะละกอก็ได้แพร่หลายเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดย...พ่อค้าชาวสเปน & โปรตุเกสนำเข้ามาในราว คริสต์ศตวรรษที่ 16 - 17และมีการปลูกขยายพันธุ์จนแพร่หลาย ซึ่งสันนิษฐานกันว่า...ไทยอาจได้พันธุ์ผลไม้ชนิดนี้มาจาก มะละกา [ มาเลเซีย ]จึงเป็นที่มาของคำว่า มะละกอ ในปัจจุบัน



การเกษตรเรื่องพันธุ์มะละกอ
มะละกอมีมากมายหลายพันธุ์ แต่มะละกอเป็นพืชที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ที่เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศของบ้านเรา พันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกในบ้านเรามีด้วยกันทั้งหมด 4 สายพันธุ์ คือ
1. พันธุ์โกโก้ มีทั้งก้านใบสีน้ำตาลเข้มหรือสีม่วงเข้มหรือสีเขียวอ่อน พวกที่ก้านสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวจะสังเกตเห็นจุดประสีม่วงตามบริเวณลำต้นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในขณะต้นอายุไม่มาก พันธุ์โกโก้ เป็นพันธุ์ที่ออกดอกติดผลเร็ว ต้นเตี้ย อวบแข็งแรง มีขนาดผลขนาดเล็กถึงปานกลางผลค่อนข้างยาวผิวเกลี้ยงเป็นมันปลายผลใหญ่ หัวผลเรียว เนื้อแน่นและหนาสีแดงหรือสีชมพูเข้มรสหวานอร่อย
พันธุ์แขกดำ
2. พันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่ลำต้นอวบแข็งแรง ต้นเตี้ยให้ดอกติดผลเร็ว ก้านใบสีเขียวอ่อน รูปทรงของผลยาวรีสีผลออกสีเขียวแก่หรือสีเขียวเข้ม มีเนื้อหนาแน่น เมล็ดน้อย ผลสุกเนื้อสีแดงเข้มมีรสหวาน
3. พันธุ์สายน้ำผึ้ง ลักษณะต้นเตี้ย ก้านใบยาวกว่าพันธุ์แขกดำ ผลค่อนข้างโตทรงผลป้าน คือด้านขั้วผลเล็กและขยายออกด้านท้ายผล เปลือกผลสีเขียว เมื่อสุกเนื้อออกสีแดงปนส้ม เนื้อหนาเนื้อแน่น มีเมล็ดมากรสหวาน
4. พันธุ์จำปาดะ เป็นพันธุ์ที่มีลำต้นอวบแข็งแรง ออกดอกติดผลช้ากว่าพันธุ์โกโก้และพันธุ์แขกดำ ใบและก้านใบออกสีเขียวอ่อน ผลมีขนาดยาว ผลดิบมีสีเขียวอ่อนผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อค่อนข้างบางกว่าพันธุ์อื่นและเนื้อไม่ค่อยแน่น
มะละกอ
การเตรียมดินเพาะกล้ามะละกอ
โดยการใช้ดิน ที่มีส่วนผสมดังนี้ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ัากัน แล้วนำ มากรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังเมล็ดเริ่มงอกแล้วดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกในหลุมปลูกได้
การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ
มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมี นำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมกลบโคนเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นไม่ให้โยกขณะลมพัด
การดูแลรักษามะละกอ
1.       การใ้ห้ปุ๋ย
- ให้ปุ๋ย 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง ทุก 30 วัน
- ให้ปุ๋ย 14-14-21 หลังติดดอกออกผลแล้ว อัตรา 1ช้อนแกง/ต้น/หลุม หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้
2.       การให้น้ำ เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่อย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ต้นแคระแกรน ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำอย่าให้มากเกินไป ถ้าน้ำท่วมขังนาน 1-2 วัน ต้นมะละกอจะเหลืองและตายในที่สุด
3.       การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืชในช่วงแรก อย่าให้วัชพืชรบกวน
4.       การทำไม้หลัก เพื่อค้ำยันพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม โดยเฉพาะช่วงติดผล
การเก็บเกี่ยว
มะละกอ ถ้าเก็บผลดิบสามารถเก็บได้หลังปลูกประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเก็บผลสุกหลังจากปลูกประมาณ 8-10 เดือน ถึงสามาถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลที่กำลังเริ่มสุกมีสีแต้มสีส้มปนเขียวนิดๆ ผลยังไม่นิ่ม


 



อาหารจากมะละกอ
 

มะละกอ มะละกอ มะละกอ ในครัวของหมอชาวบ้านเดือนนี้เต็มไปด้วยมะละกอทั้งดิบและสุก ตอนแรกเราคุยกันว่าจะทำอาหารจากมะละกอหลายประเภท เพื่อขานรับการแนะนำมะละกอในคอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้าของคุณเดชา อาหารที่หลายๆ คนช่วยกันนึก (ด้วยความอยากกิน) คือ
·                             ส้มตำ
·                             แกงส้มมะละกอ
·                             แกงเหลืองมะละกอ
·                             แกงป่ามะละกอ
แต่สุดท้ายทุกคนก็เห็นร่วมกันว่า อาหารเหล่านี้ชาวหมอชาวบ้านคงกินกันจนเบื่อแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งส้มตำ ซึ่งจะว่าไปแล้วสูตรของใครก็ของคนนั้น เราจึงเปลี่ยนแผนขอเป็นการทำอาหารจากมะละกอที่มักถูกมองข้าม คือ ผัดมะละกอ และมะละกอต้มจิ้มน้ำพริก เพราะเวลาทำอาหารแบบนี้มะละกอมักถูกมองข้ามพืชผักชนิดอื่นมักถูกเลือกเป็นอันดับต้นๆ ทั้งๆ ที่มะละกอเป็นพืพชผลที่หาได้ไม่ยาก ปลูกไว้ข้างบ้านสักต้นสองต้นก็พอกินได้ตลอดปี ที่สำคัญปลอดสารพิษฆ่าแมลง
คุณอาจจะลองทบทวนดูก็ได้ คุณจะพบว่า คุณมักผัดบวบใส่ไข่หรือใส่กุ้งบ่อยครั้ง แต่คุณแทบจะไม่นึกถึงมะละกอใส่ไข่เลย หรือเวลาคุณหาผักจิ้มน้ำพริก คุณจะนึกถึงชะอมมะเขือ แตงกวา ถั่วฝักยาว หน่อไม้ หรือแม้แต่มะระขี้นก แต่ดิฉันอยากจะบอกคุณว่ามะละกอต้ม (จะราดกะทิหรือไม่ราดก็ได้) จิ้มน้ำพริกนั้นอร่อย ปลอดจากสารพิษ น่าลิ้มลองจริงๆ และเห็นจะขาดไม่ได้คือมะละกอสุกซึ่งกินได้ทุกเพศทุกวัย นอกจากจะมีวิตามินเอสูงแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้อย่างเยี่ยมยอด แต่หลายๆ คนไม่ชอบกินมะละกอสุก บางคนไม่ชอบกินเพราะเห็นมันเละๆ ดูท่าทางไม่น่าอร่อย
วันนี้ดิฉันมีข้อแนะนำในการปอกมะละกอสุกให้ดูน่ากิน เริ่มต้นดังนี้นะคะ
1. หั่นมะละกอตามขวาง ขนาดพอประมาณ
2. แบ่งเป็นส่วนๆ ถ้าใช้แนวร่องของมะละกอก็จะยิ่งสวย
3.ใช้มีดคมๆ ปอกเปลือกทีละชิ้น (ตามรูป)
เคล็ดลับ คือ พยายามลงมือไถไปเพียงครั้งเดียวในแต่ละขั้น และมือควรจะแห้งและสะอาด ก่อนปอกล้างเปลือกมะละกอให้สะอาด และหาผ้าเช็ดให้แห้งก่อน ลองปอกแบบนี้ดูนะคะ ไม่แน่ว่าคนที่ไม่ชอบมะละกออาจจะเปลี่ยนมาชอบก็ได้ อย่าลืมเก็บเมล็ดมะละกอไว้ปลูกด้วยนะคะ